ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES)คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการ วิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหา ต่างๆ ได้จากฐาน ความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรคหรือเครื่อง คอมพิวเตอร์ ทำนายโชคชะตา เป็นต้น
ภาพจาก :http://exitexam.tsu.ac.th/cst/course/computer_it/AI/expert.html
ส่วนที่หนึ่ง การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system development) พัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ซึ่งเป็นวิศวกรที่มีความรู้ (Knowledge engineer) แล้วพัฒนาเป็นโปรแกรมระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system shell) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการทำงานแล้วได้มาซึ่งความรู้ (Knowledge acquisition) ซึ่งนำไปเก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของฐานความรู้ (Knowledge base)
ส่วนที่สอง ระบบผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติการ (Operational expert system) เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ทำหน้าที่คุมการทำงานของซอฟต์แวร์ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเครื่อง คอมพิวเตอร์จะให้คำแนะนำ(Facts of immediate problem) เข้าไปจากตัวเชื่อมผู้ใช้ (User interface) ไปที่เครื่องช่วยอธิบาย (Explanation facility) ไป 2 ทางคือ กลไกอนุมาน (Inference engine) หาจากหน่วยความจำ (Working memory) และเป็นฐานความรู้ (Knowledge base)
การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ
1. การวิเคราะห์ปัญหา
ผู้พัฒนาระบบความฉลาดจะดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการความ เหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำระบบไปใช้งานในl สถานการณ์จริง โดยทำความเข้าใจกับปัญหา
2. การเลือกอุปกรณ์ ผู้พัฒนาระบบต้องพิจารณาเลือกอุปกรณ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของ ES ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความต้องการ อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมแตกต่างกันโดย
พิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
2.1 การแสดงความรู้
2.2 เครื่องอนุมาน
2.3 การติดต่อกับผู้ใช้ ES
2.4 ชุดคำสั่ง โดยภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมนำมาใช้ในการพัฒนาระบบความฉลาดได้แก่ โปรลอก (PROLOG) และลิปส์ (LIPS) เอกซ์ซีส (EXSYS) เป็นต้น
2.5 การธำรงรักษาและการพัฒนาระบบ
3. การถอดความรู้
ผู้พัฒนาระบบต้องทำการสังเกต ศึกษา และทำความเข้าใจกับความรู้ที่จะ นำมา พัฒนาเป็น ES จากแหล่งอ้างอิง หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น เพื่อการ กำหนดขอบเขตที่เหมาะสมของระบบ โดยที่เราเรียกกระบวนการนี้ว่า "วิศวกรรมความรู้ (knowledge engineering)"
4. การสร้างต้นแบบ
ผู้พัฒนา ES จะนำเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมามาประกอบการสร้าง สร้างต้นแบบ (Prototype) ของ ES โดยผู้พัฒนาระบบจะเริ่มต้นจากการ นำแนวความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบที่ต้องการพัฒนา มาจัดเรียงลำดับ พร้อมทั้งทดสอบการทำงานของต้นแบบที่สร้างขึ้นว่าสามารถทำงานได้ตามที่
ได้วางแผนไว้หรือไม่
5. การขยาย การทดสอบและบำรุงรักษา หลังจากที่ต้นแบบได้ถูกสร้างขึ้นและสามารถผ่านการทดสอบการทำงานแล้ว เพื่อที่จะได้ระบบสามารถนำไปใช้สภาวการณ์จริงได้
การสรุปความของระบบผู้เชี่ยวชาญ
การสรุปความ การสรุปความของระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับคำหลักอยู่ 2 คำ ได้แก่ การให้เหตุผล (Reasoning) และการอนุมาน (Inference) การให้เหตุผล หมายถึงกระบวนการของการทำงาน เพื่อที่จะสรุปความโดยใช้ องค์ความรู้ที่มีข้อเท็จจริง และวิธีการแก้ปัญหาเข้ามาผสมผสานกันการให้ เหตุผลในระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำงานโดยใช้เทคนิคการอนุมาน
วิธีการให้เหตุผล จะมีวิธีการหลายรูปแบบดังรายละเอียดต่อไปนี้
ก) การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)
จะให้เหตุผลโดยการใช้ข้อเท็จจริงในปัญหาหรือสัจพจน์ (Axioms) กับองค์ความรู้ในรูปแบบที่มีอยู่และมีความสัมพันธ์กับปัญหาการสรุปความแบบนิรนัย ถือได้ว่าเป็นเทคนิควิธีการแก้ปัญหาที่มนุษย์ใช้ในการหาเหตุผล
ตัวอย่าง
กฎ : ฉันจะเปียกถ้ายืนกลางฝน
สัจพจน์ : ฉันยืนกลางฝน
สรุปความ : ฉันจะเปียก
ข) การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning)
การสรุปความของวิธีการแบบอุปนัย โดยใช้จำนวนข้อสมมติฐานที่มีอย่างจำกัด ถือว่าเป็นการใช้ความเชื่อมั่นจากสิ่งที่มีอยู่เพียงจำนวนน้อย มาสรุปผล อย่างกว้าง ๆ ทั่วไป ดังนั้นการสรุปจากสิ่งที่มีเพียงน้อยไปเป็นสิ่งทั้งหมดถือเป็นหัวใจหลักของการสรุปความแบบอุปนัย
ตัวอย่าง
สมมติฐาน : ลิงในสวนสัตว์เขาดินกินกล้วย
สมมติฐาน : ลิงในสวนสัตว์สงขลากินกล้วย
ผลสรุป : โดยทั่วไปแล้ว ลิงทุกตัวกินกล้วย
ค) การให้เหตุผลแบบไม่ยืนยัน (Adductive Reasoning)
คำว่าไม่ยืนยันในที่นี้หมายถึง ไม่ยืนยันในด้านความถูกต้องของผลสรุปที่ได้ ผลสรุปอาจจะถูกหรือผิดได้ วิธีการให้เหตุผลของวิธีการนี้จะใช้หลักการ เหมือนกับวิธีนิรนัย
ง) การให้เหตุผลแบบการเทียบเคียง (Analogical Reasoning)
มนุษย์จะใช้วิธีการนี้ โดยการมีรูปแบบโครงสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ ประสบการณ์เรื่องใดใดภายในใจและจะใช้องค์ความรู้นี้ ช่วยสร้างความเข้าใจในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับองค์ความรู้นั้น ๆ
จ) การให้เหตุผลแบบการใช้สามัญสำนึก (Common - Sense Reasoning)
เป็นวิธีการที่มนุษย์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่มาวินิจฉัยเพื่อสรุปความจะเรียกว่าฮิวริสติค (Heuristic) วิธีการฮิวริสติคเมื่อนำมาใช้ในระบบผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า การค้นหาแบบฮิวริสติค
(Heuristic Search) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการค้นหาแบบ Best - First เป็นการค้นหาโดยใช้องค์ความรู้มาช่วยในการค้นหา ทำให้ ค้นหาได้เร็วกว่า
ที่มา http://exitexam.tsu.ac.th/cst/course/computer_it/AI/expert.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น