วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

งานกลุ่ม บทที่3
การจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศ


สมาชิกผู้จัดทำ  

 นางสาวธนารีย์ ทองศรี  58124823
                นางสาววิลาวัณย์ ทองวิรัตน์  58124842       
 นางสาวอัญชัญ เชื่อใจ  58124843
         นางสาวกนกวรรณ ตุ้ยแพร่  58124857  
   นายญาณวุฒิ ใจวงศ์  58124876     
หมู่เรียน บช.58.ช.4.1  sec 02

นำเสนอ
อาจารย์ ดร.ภัทราพร  พรหมคำตัน


รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (BCOM 16014)
ภาคเรียนที่ 1/2559 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่



วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

                     ในปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธุรกิจร้านอาหารจานด่วน QSR (quick service restaurant) ส่วนใหญ่ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งาน เป็นการช่วยในความสะดวก รวดเร็ว ในการบริการ บริษัท เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ก็ได้นำเทคโนดลยีสารสนเทศมาใช้ ในการทำงานเช่นกัน

ลักษณะของการดำเนินธุรกิจ

เดอะ พิซซ่า คอมปะนี สามารถให้การสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ให้คำแนะนำในการเลือกทำเลที่ตั้งการออกแบบร้าน และการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การฝึกอบรมพนักงาน ไปจนถึงแผนการตลาดและส่งเสริมการขาย ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณมีพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง เรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ความอร่อยและความหลากหลายในด้านอาหาร เพื่อตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าอย่างเต็มที่ 100% ความมุ่งมั่นที่จะสร้างและพัฒนาร้านในตลาดใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา นำเสนอแนวคิดที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารภายในร้าน การส่งอาหารตรงถึงบ้าน ซึ่งเราเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ส่งฟรี รับประกันภายใน 30 นาที

ระบบสารสนเทศที่บริษัทใช้อยู่

-ระบบ Internet service
            ปัจจุบันลูกค้าของ Pizza company ถ้าอยากจะซื้อพิชซ่า เราไม่ต้องไปถึงร้านแล้ว Pizza company มีการให้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อย่างสะดวกสบาย สามาราเลือกเมนูได้ตามที่เราต้องการ
เช่น                                                                  
 ระบบการสั่งซื้อออนไลน์

ระบบแบบสอบถามออนไลน์

ระบบค้นหาร้านออนไลน์

ระบบสมัครสมาชิกออนไลน์

ภาพจาก: https://www.pizza.co.th/


-ระบบ call center
                 ปัจจุบันลูกค้าของPizza company สามาราโทรไปสั้งพิซซ่าได้ โดยมีพนักนักที่คอยบอกโปรโมชั่นให้และสามารถเพิ่มหน้าหรือเลือกเมณูต่างๆที่เราต้องการได้

-Hardware ที่ใช้
                1. คอมพิวเตอร์ ( POS Terminal ) เป็นตัวประมวลผล ทุกอย่างเกียวกับโปรแกรม POS
                2. จอภาพ ( Monitor ) ที่แสดงการทำงานของโปรแกรม อาจจะเป็นจอ LCD ปกติ หรือ Touch Screen ก็ได้
                3. เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ (Slip Printer) มีหน้าที่พิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า
                4. ลิ้นชักเก็บเงิน ( Cash Drawer ) สำหรับไว้เก็บเงินทอนให้กับลูกค้า จะทำงานเชื่อมกันกับ Slip Printer
                   5. จอแสดงราคา ( Customer Display ) จะแสดงราคา และ เงินทอนให้กับลูกค้า

-Software ที่ใช้
                1. โปรแกรมบริหารระบบบัญชี Account&ERP
                2. โปรแกรมระบบ POS
                   3. โปรแกรม MySQL Server
ภาพจาก: https://sites.google.com/site/cb5630122113209/fast-food







วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS)


          ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ
 E –mail , FAX
          E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง


ภาพจาก :https://login.live.com/login.srf?wa=wsignin1.0&rpsnv=13&ct=1473698424&rver=6.4.6456.0&wp=MBI_SSL_SHARED&wreply=https:%2F%2Fmail.live.com%2Fdefault.aspx%3Fmkt%3Dth-th&lc=1054&id=64855&mkt=th-th&cbcxt=mai



                 Fax เป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่เป็นเอกสารและภาพที่ส่งมาในรูปของสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายโทรศัพท์เครื่องรับ/ส่งแฟกซ์หรือโทรสารนั้น ปัจจุบัน เราอาจจะต่อสายแฟกซ์ผ่านโมเด็มเข้าสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ในกรณีเช่นนี้ จะเป็นการส่งหรือรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เลย ไม่ต้องใช้กระดาษ คล้ายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
                                      Fax
  

Fax - Modem

ภาพจาก  http://www.mktele.com/fax-machine-service.html
             http://www.it-guides.com/buying-guide/how-to-buy-fax-modem



2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video – Conferencing)


           Video Conference คือระบบการติดต่อสื่อสารที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ(ผู้ร่วมประชุมและเอกสารที่นำเสนอ) และข้อมูลเสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร (IP หรือ ISDN) ซึ่งจะเป็นลักษณะของการโต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสานระหว่างภาพ ข้อมูล และเสียง ให้เปรียบเสมือนมีการประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน

ภาพจาก  http://www.conferenceeasy.com/wp-content/uploads/2013/03/video-conference.jpg


Skype เป็นโปรแกรมแชทผ่านกล้องเว็บแคมพร้อมคุยผ่านไมค์ โปรแกรมใช้ระบบการทำงานแบบ P2P ทำให้เราสามารถคุยไปพร้อมๆ กับมีการแลกเปลี่ยนไฟล์กันได้ สำหรับเวอร์ชั่นใหม่ก็มีการพัฒนาในส่วนของ Group Chat ที่จะทำให้เราสามารถคุยกับเพื่อนๆ ได้เป็นกลุ่ม ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประชุมออนไลน์ได้อย่างลงตัว
 
 ภาพจาก  http://www.rusogratis.com/lecciones-por-skype.php


ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต
3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด
4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็วและดีขึ้น
6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน
7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร
9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่
10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจ / แนวดิ่ง สู่ วัฒนธรรมความรู้ / แนวราบ
11. ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น
12. การจัดการความรู้ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาด และการแข่งขันทำให้เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
13. การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการพัฒนาความสามารถขององค์กรในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่
14. การยกระดับผลิตภัณฑ์การนำการจัดการความรู้มาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ
15. การบริหารลูกค้า การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจและเพิ่มยอดการขาย และการสร้างรายได้
16. การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการเรียนรู้ร่วมกัน



แหล่งข้อมูล : http://bussara2635.blogspot.com/2012/12/essmiskwsoastps.html
                http://dictionary.sanook.com/search/dict-computer/fax                   
                http://www.conferenceeasy.com/faqs

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction Processing System หรือ TPS)
       ระบบประมวลผลรายการ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้, เก็บรายละเอียดรายการ, ประมวลผลรายการและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการ ออกมาได้
ตัวอย่างระบบประมวลผลรายการ
    รายงานการประมวลผลบัญชี, รายงานการขาย, หรือรายงานประมวลผลข้อมูลสินค้า

การปิดประมวลผลสิ้นปีในโปรแกรม Express

ภาพจาก   http://www.ictbiz.co.th/express-tip.php?tip_id=12



ตัวอย่างอุปกรณ์ไอทีที่ทำหน้าที่ในระบบประมวลผลธุรกรรม

            Customer Integrated Systems (CIS)เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนามาจาก TPS โดยลูกค้าสามารถป้อนขัอมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM การลงทะเบียนโดยผ่านโทรศัพท์มือถือ และการจ่ายค่าไฟฟ้าจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้   
ภาพจาก : http://nirankas.exteen.com/20130301/toon137-atm


            Optical Scanning Wand, Grocery Checkout Scanner ( เครื่องอ่านรหัสสินค้าจากบาร์โค๊ดที่ใช้ในห้างสรรพสินค้า) อุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูลและเครือข่ายเทคโนโลยี ในการนำเข้าข้อมูลอัตโนมัติ รวมถึงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับลิ้นชัก เก็บเงิน (Cash Drawer) ในฐานะที่เป็นสถานีงาน ณ จุดขาย หรือระบบจอภาพสัมผัส (Touch Screen) ระบบจดจำเสียง (Voice Recognition Systems)
ภาพจาก : https://kanokphonr.wordpress.com/2012/09/



             Point-of-Sales (POS)  เครื่องเก็บเงินนี้บันทึกประเภทสินค้า จำนวนเงินเข้าเงินออก
เพื่อวิเคราะห์ยอดขายและพัฒนาการขายต่อไป ระบบนี้สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล
เพื่อวิเคราะห์ยอดขายและพัฒนาการขายต่อไป ระบบนี้สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล Online เพื่อส่งข้อมูลเข้าส่วนกลางเพื่อวิเคราะห์การขาย บริหารคลังสินค้า ประกอบการตัดสินใจต่างๆ ช่วยควบคุมการเงินได้รัดกุมขึ้นมาก
ภาพจาก : http://mchayapol.blogspot.com/2015/06/point-of-sales-pos.html


ประโยชน์ที่ได้รับ

1.การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2.มีการจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น
3.เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น
4.เป็นการลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5.เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการใช้ข้อมูลและประมวลผล



แหล่งข้อมูล  http://www.slideshare.net/nilobonpraneetphonkrang/chapter-3-the-structure-of-management-information-systems
https://kantanagarn.wordpress.com/2013/07/14/transaction-processing-systems-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/
http://tpscomputeredu.wixsite.com/tpscomputeredu01/untitled-c1ctw


วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)


            ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุผิดปกติ


ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

          เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานทั้งระดับองค์การและอุตสาหกรรม ธุรกิจต้องการระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการดำรงอยู่และเจริญเติบโตขององค์การ โดยที่เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่วนช่วยให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ และสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นในระดับสากล เพื่อให้การทำงานมีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องทำความเข้าใจถึงวิธีใช้งานและโครงสร้างของระบบสารสนเทศ สามารถสรุปส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ ได้ 3 ส่วน คือ

1. เครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
           หมายถึง ส่วนประกอบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่รวมกันเข้าเป็น MISและช่วยให้ระบบสารสนเทศดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกเครื่องมือในการสร้างระบบสารสนเทศไว้ 2 ส่วน คือ
ภาพจาก http://bit-gm405.blogspot.com/2015_08_01_archive.html


           1.1 ฐานข้อมูล (Data Base) จัดเป็นหัวใจสำคัญของระบบ MIS เพราะว่าสารสนเทศที่มีคุณภาพจะมาจากข้อมูลที่ดี เชื่อถือได้ ทันสมัย และถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นฐานข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบสารสนเทสมีความสมบูรณ์ และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
           1.2 เครื่องมือ (Tools) เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ปกติระบบสารสนเทศจะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์หลักในการจัดการข้อมูล ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญต่อไปนี้
       1.2.1 อุปกรณ์ (Hardware) คือ ตัวเครื่องหรือส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย
ภาพจาก https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C+(Hardware&rlz=1C1RXGH_enTH699TH699&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjpmqz49IzPAhVFNpQKHcStDXIQ_AUICCgB&biw=1366&bih=667#imgrc=TjApAOWUl2QUwM%3A



  1.2.2 ชุดคำสั่ง (Software) คือ ชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่รวบรวม และจัดการ เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการ บริหารงาน หรือการตัดสินใจ
ภาพจากhttps://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87+(Software&rlz=1C1RXGH_enTH699TH699&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwi0863v9YzPAhWJoZQKHWvMADoQ_AUICCgB&biw=1366&bih=667#imgrc=W4mrM3cZN8qxaM%3A




2. วิธีการหรือขั้นตอนการประมวลผล
             การที่จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ จะต้องมีการจัดลำดับ วางแผนงานและวิธีการประมวลผลให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือสารสนเทศที่ต้องการ


3. การแสดงผลลัพธ์
            เมื่อข้อมูลได้ผ่านการประมวลผล ตามวิธีการแล้วจะได้สารสนเทศ หรือMIS เกิดขึ้น อาจจะนำเสนอในรูป ตาราง กราฟ รูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล และลักษณะของการนำไป ใช้งาน
ภาพจาก http://bit-gm405.blogspot.com/2015_08_01_archive.html



คุณสมบัติของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

          ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยตนเองหรือให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้าดำเนินการ โดยการออกแบบและพัฒนา MIS ที่สอดคล้องตามหลักการ ระบบก็จะสามารถอำนวยประโยชน์ให้กับองค์การได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงคุณสมบัติที่สำคัญของ MIS ต่อไปนี้

1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล (Data Manipulation)
          ระบบสารสนเทศที่ดีต้องสามารถปรับปรุงแก้ไขและจัดการข้อมูล เพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ปรกติข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าสู่ MIS ควรที่จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนารูปแบบ เพื่อให้ความทันสมัยและเหมาะสมกับการใช้งานอยู่เสมอ

2. ความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security)
            ระบบสารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญอีกอย่างขององค์การ ถ้าสารสนเทศบางประเภทรั่วไหลออกไปสู่ บุคคลภายนอก โดยเฉพาะคู่แข่งขัน อาจทำให้เกิดความเสียโอกาสทางการแข่งขัน หรือสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือการก่อการร้ายต่อระบบ จะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ขององค์กร

3. ความยืดหยุ่น (Flexibility)
           สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจหรือสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบสารสน เทศที่ดีต้องมีความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานหรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยที่ระบบสารสนเทศที่ถูกสร้างหรือถูกพัฒนาขึ้นต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริหารได้อยู่เสมอ โดยมีอายุการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

4. ความพอใจของผู้ใช้ (User Satisfaction)
          ปกติระบบสารสนเทศ ถูกพัฒนาขึ้น โดยมีความมุ่งหวังให้ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ในงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ งาน ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องกระตุ้นหรือโน้มน้าวให้ผู้ใช้หันมาใช้ระบบให้มากขึ้น โดยการพัฒนาระบบต้องทำการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการ และพยายามทำให้ผู้ใช้พอใจกับระบบ เมื่อผู้ใช้เกิดความไม่พอใจกับระบบ ทำให้ความสำคัญของระบบลดน้อยลงไป ก็อาจจะทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนได้


ตัวอย่างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
           รายงานเปรียบเทียบเป้าการขาย/ยอดขาย – แยกตามพนักงาน



ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

               1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถจะเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ทันต่อความต้องการ
              2.ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหารจะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบ สารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงาน เนื่องจากสารสนเทศถูกเก็บรวบรวมและจัดการ อย่างเหมาะสม ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จำชี้แนวโน้มของการดำเนินงานได้ว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด
             3.ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร
             4.ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาผู้บริหารสามารถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ อาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าข้อผิดพลาดในการทำงานเกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่
            5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหาร วิเคราะห์ว่าการดำเนินงานในแต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไข หรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย
           6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงาน จำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ



ที่มาของข้อมูล :http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/

                          http://odarknesso.blogspot.com/2012/05/management-information-system-mis.html

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System – DSS)


            ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
         DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น


การตัดสินใจ (Decision Making)
กระบวนการตัดสินใจประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

        1.การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence) เป็นขั้นตอนที่รับรู้และตระหนักถึงปัญหาหรือโอกาสที่เกิดขึ้น ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา นำข้อมูลมาวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อแยกแยะและกำหนดรายละเอียดของปัญหาหรือโอกาส
         2. การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนของการพัฒนาและวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้ รวมถึงการตรวจสอบและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา หรือออกแบบหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
          3.การคัดเลือก (Choice) ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์มากที่สุด โดยอาจใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ คำนวณค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนของแต่ละแนวทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้เลือกแนวทางที่ดีที่สุด
         4.การนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติและคิดตามผลของการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องประการใด จะต้องแก้ไข้หรือปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร


ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ


การตัดสินใจสามารถถูกจำแนกให้สอดคล้องกับระดับของการจัดการออกเป็น 3 ระดับ คือ

      1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making) การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่ให้ความสนใจในอนาคต เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การกำหนดนโยบายและการวางแผนระยะยาว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยทั่วไปสิ่งแวดล้อมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความไม่แน่นอน และไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้าได้
     2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making) การตัดสินใจเชิงยุทธวิธีเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ การตัดสินในระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับปัญหาในลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น กาจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดการผลิต การกำหนดยุทธวิธีทางการตลาด การวางแผนงบประมาณระยะกลาง และการทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
        3.การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Decision Making) การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างานซึ่งเกี่ยวข้องกับงานประจำหรือการปฏิบัติงานเฉพาะด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติงานเหล่านั้นได้ตามแผนที่วางไว้อย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพ เช่น การตัดสินใจในกระบวนการสั่งซื้อการควบคุมสินค้าคงคลัง การตัดสินใจในระดับนี้เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบมีโครงสร้าง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้าและทำการตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติเนื่องจากจะเป็นปัญหาในเรื่องที่ซ้ำ ๆ กัน
     ตัวอย่างของการตัดสินใจ เช่น การกำหนดเวลาสั่งสินค้าคงคลังจำนวนวัตถุดิบที่จะสั่งซื้อแต่ละครั้ง การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ และการมอบหมายงานให้พนักงานเป็นรายบุคคล
 



ภาพจาก :https://acc5606103108.wordpress.com/2013/07/11/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83/




ประเภทของการตัดสินใจ

ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท ได้แก่

      1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง ( Structure Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว (programmed) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงมีมาตรฐานในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม หรือการเลือกกลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดเมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด หรือเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด การตัดสินใจแบบนี้จึงมักใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) หรือศาสตร์ทางด้านวิทยาการ การจัดการ (Management Science) หรือการวิจัยดำเนินงาน (Operation Research) เข้ามาใช้ โดยในบางครั้งอาจนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญเข้ามาใช้ร่วมด้วย ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบโครงสร้าง ได้แก่ การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับสินค้าคงคลัง จะต้องสั่งของเข้า(Order Entry) ครั้งละเท่าไร เมื่อใด การวิเคราะห์งบประมาณ (Budget Analysis) ที่ต้องใช้ในการจัดการต่างๆ การตัดสินใจเรื่องการลงทุน จะลงทุนอะไร ที่ตั้งโกดังเก็บสินค้า (Warehouse Location) ควรตั้งที่ไหน, ระบบการ จัดส่ง/การจำหน่าย (Distribution System) ควรเป็นอย่างไร เป็นต้น
      2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (Unstructured Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบไม่เคยกำหนดล่วงหน้ามาก่อน ( Nonprogrammed ) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจน หรือมีความซับซ้อน จึงไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง การตัดสินใจกับปัญหาลักษณะนี้จะไม่มีเครื่องมืออะไรมาช่วย มักเป็นปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้ของ ผู้บริหารในการตัดสินใจ ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง เช่น การวางแผนการบริการใหม่, การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม หรือการเลือกกลุ่มของโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า
      3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Decision) เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้าง และแบบไม่เป็นโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้ โดยปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐาน และการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีลักษณะเป็นกึ่ง โครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่าจะมี


ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
       ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน
โครงสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ภาพจาก https://acc5606103108.wordpress.com/2013/07/11/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83/





ส่วนจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem)

          ประกอบด้วยฐานข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูล ส่วนสอบถามข้อมูล สารบัญข้อมูล ส่วนการดึงข้อมูล และข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ ระบบ DSS อาจเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลขององค์การหรือคลังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อดึงหรือกรองข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการตัดสินใจมาใช้


ส่วนจัดการโมเดลหรือส่วนจัดการแบบ (Model Management Subsystem)ประกอบด้วย
แบบจำลอง(Model Base)
ระบบจัดการฐานแบบจำลอง (Model Base Management Systerm : MBMS)
ภาพแบบจำลอง (Model Language)
สารบัญแบบจำลอง(Model Directory)
ส่วนดำเนินการแบบจำลอง(Model Execution)


             ฐานแบบจำลอง(Model Base) จัดเก็บแบบจำลองต่าง ๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ เช่น แบบจำลองทางการเงิน ทางคณิตศาสตร์ ทางสถิติ หรือแบบจำลองเชิงปริมาณ เป็นต้น และมีระบบจัดการฐานแบบจำลอง ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในการสร้างและจัดการแบบจำลองรวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้แบบจำลองที่เหมาะสมโดยระบบจัดการฐานแบบจำลองมีหน้าที่หลัก ดังนี้
             – สร้างแบบจำลองของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
             – ให้ผู้ตัดสินใจสามารถจัดการหรือใช้แบบจำลองสำหรับการทดลองหรือวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงตัว แปรด้านปัจจัยนำเข้าว่า จะส่งผลต่อตัวแปรด้านผลผลิตอย่างไร (Sensitivity Aalysis)
             – สามารถจัดเก็บและจัดการแบบจำลองต่างชนิดกัน
             – สามารถเข้าถึงและทำงานร่วมกับแบบจำลองสำเร็จรูปอื่นได้
             – สามารถจัดกลุ่มและแสดงสารบัญของแบบจำลอง
             – สามารถติดตามการใช้แบบจำลองและข้อมูล
             – สามารถเชื่อมโยงแบบจำลองต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสม โดยผ่านทางฐานข้อมูลจัดการและบำรุง รักษาฐานแบบจำลอง
              แบบจำลองเพื่อการตัดสินใจมีหลายประเภท ระบบ DSS อาจถูกสร้างขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ดังนั้น DSS ต่างระบบกันอาจประกอบด้วยแบบจำลองที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้



ตัวอย่างของแบบจำลอง มีดังนี้
          – แบบจำลองทางสถิติStatistic Model) ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ความถดถอย หรือการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ
          – แบบจำลองทางการเงิน (Financial Model) ใช้แสดงรายได้ รายจ่าย และกระแสการไหลของเงินสด ฯลฯ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนทางการเงิน
         – แบบจำลองเพื่อหาจุดเหมาะสมที่สุด (Optimization Model) เป็นการหาค่าเหมาะสมที่สุดของตัวแปรตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่ำสุด
         – แบบจำลองสถานการณ์ (Simulation Model) เป็นตัวแบบคณิตศาสตร์ที่ใช้การสร้างชุดของสมการเพื่อแทนสภาพของระบบที่จะทำการศึกษาแล้วทำการทดลองจากตัวแบบเพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับระบบ


ส่วนการจัดการโต้ตอบ (Dialogue Management Subsystem)
               ส่วนจัดการโต้ตอบหรืออาจเรียกว่าส่วนจัดการประสานผู้ใช้(User Interface Management) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับระบบ เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับระบบเป็นไปด้วยความสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลนำเข้าและรูปแบบจำลองรวมอยู่ในการวิเคราะห์ได้ เช่น การใช้เมาส์ การใช้ระบบสัมผัสในการติดต่อกับระบบ การแสดงข้อมูลในลักษณะหน้าต่างWindow), การนำเสนอข้อมูลในรายละเอียดเจาะลึก(Drill-down) และการนำเสนอข้อมูลด้วยสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย เช่น กราฟิก หรือ รูปภาพ
          ชนิดหลักของส่วนต่อประสนผู้ใช้ ได้แก่ ส่วนต่อประสานแบบแสดงรายการเลือก(Menu-driven Interface) ส่วนต่อประสานโดยใช้คำสั่ง(Command-driven Interface) และส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical-user Interface)
          สำหรับ DSS ขั้นสูง จะมีส่วนจัดการความรู้ (Knowledge-based Management Subsystem)เป็นอีกส่วนประกอบหนึ่ง



ประเภทของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
           1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบให้ความสำคัญกับข้อมูล (Data-Oriented DSS)เป็น DSS ที่ให้ความสำคัญกับเครื่องมือในการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบทางสถิติ ตลอดจนการจัดข้อมูลในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้ทำความเข้าใจสารสนเทศ และสามารถตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
          2.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบให้ความสำคัญกับแบบจำลอง (Model-Based DSS) เป็น DSS ที่ให้ความสำคัญกับแบบจำลองการประมวลปัญหา โดยเฉพาะแบบจำลอง พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) และแบบจำลองการวิจัยขั้นดำเนินงาน(Operation Research Model) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหา และปรับตัวแปรที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

ตัวอย่างการใช้โปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
แบบจำลองพยากรณ์อากาศ
ภาพจาก https://acc5606103108.wordpress.com/2013/07/11/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83/

ภาพจาก :https://acc5606103108.wordpress.com/2013/07/11/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83/



ภาพจาก https://acc5606103108.wordpress.com/2013/07/11/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83



ประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

         เป้าหมายของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจคือช่วยลดภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการตัดสินใจด้านต่างๆและช่วยให้การตัดสินใจบริหารงานองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น โดยประโยชน์ที่ได้รับจากการนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจมาใช้ในองค์กรได้แก่
         1.พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานส่วนบุคคล โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ซึ่งเป็นงานหลักของผู้บริหาร เนื่องจากระบบจะช่วยจัดเตรียมสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ
        2.พัฒนาประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหา โดยช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น และยังสามารถช่วยตัดสินปัญหากึ่งโครงสร้างและปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบอาจจะมีการจัดเตรียมสารสนเทศเกี่ยวกับการตัดสินใจของปัญหาในลักษณะเดียวกับในอดีต และผลที่ได้รับจากการตัดสินใจนั่นๆ เพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้ระบบ ซึ่งช่วยให้การตัดสินใจมีความถูกต้อง รวดเร็ว และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
       3.ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร สำหรับระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีการทำงานในลักษณะกลุ่มที่เรียกว่า “Groupware” ทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจปัญหาที่ต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มผู้บริหารได้ โดยทำการปรึกษา ประชุมและเรียกใช้สารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจผ่านเทคโนโลยี เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วยประหยัดเวลา งบประมาณ และช่วยให้การประชุมติดต่องานระหว่างผู้บริหารเป็นไปโดยสะดวกช่วยให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น
      4.ส่งเสริมการเรียนรู้หรือการฝึกหัด เนื่องจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีกระบวนการทำงานคล้ายกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจซ้ำๆ จึงช่วยพัฒนาการเรียนรู้และช่วยฝึกหัดการใช้งานระบบให้กับผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถศึกษากระบวนการให้เหตุผลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจผ่านการสอบถามถึงลักษณะปัญหา ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา กระบวนการให้ข้อเสนอแนะ และกระบวนการให้เหตุผล โดยระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และการฝึกหัดของผู้ใช้คือระบบผู้เชี่ยวชาญ
       5.เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมองค์กร เนื่องจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร ทำให้สามารถบริหารและควบคุมองค์กรได้ดียิ่งขึ้น การบริหารและควบคุมองค์กรเป็นงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจหลายๆ ดังนั้นการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
       6.นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าและพนักงานภายในองค์กรช่วยในการตัดสินใจเพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต โดยผลผลิตยังคงมีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน ซึ่งผลที่ได้รับทั้งหมดจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับองค์กรคู่แข่งที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกัน และจากประโยชน์ต่าง ๆ ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เจ้าของธุรกิจและผู้บริหารต่างหันมาให้ความสนใจพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับองค์กรของตนเพิ่มมากขึ้น เพิ่มให้องค์กรให้รับประโยชน์ตามที่คาดหวังไว้




ที่มาของข้อมูล :
http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/107/
http://www.dss.ru.ac.th/home/about-dss/2015-11-20-03-46-24

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS หรือ Executive Support System: ESS)


ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) 
                   ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems) หรือที่เรียกว่า EIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะด้านระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้นและปรับตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้สร้างแรงกดดันให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรทางการจัดการ ระยะเวลา ข้อมูล และการดำเนินงานของคู่แข่งขัน นอกจากนี้ผู้บริหารหลายคนยังมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศที่จำกัด โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีอายุมากและไม่มีโอกาสได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการใช้งานสารสนเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ผู้บริหารปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหารต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

คุณสมบัติของระบบ EIS
         – มีการใช้งานบ่อย
         – ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
         – ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
         – การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
         – การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
         – ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
         – การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
         – ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด



โครงสร้างของระบบ EIS



ภาพจาก :http://pimchanokkongdee.blogspot.com/2015/11/eis-7.html



User / Role Matrix Model
ระบบ EIS รองรับให้สามารถใช้งานและร่วมกันทำงานได้หลายคน และหลายระดับตั้งแต่ผู้ปฎิบัติงานส่วนต่างๆไปจนถึงผู้บริหารระดับสูง บนข้อมูลชุดเดียวกัน ซึ่งทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นยำ และสามารถเห็นทั้งภาพรวม รวมทั้งรายละเอียดของแต่ละจุดได้ นอกจากนั้น ระบบ EIS สามารถที่จะกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและแก้ไขข้อมูลของผู้ใช้งานในแต่ละระดับได้ด้วย


ภาพจาก :http://pimchanokkongdee.blogspot.com/2015/11/eis-7.html


รูปแบบข้อมูลในแต่ละจุด
ระบบรองรับให้สามารถเก็บข ้อมูลในลักษณะดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลท่ัวไป (Static Information) ในรูปแบบข้อความ หรือ ตัวเลข เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์
2. รูปภาพ หรือ VDO
3. ข้อมูลสถติิ(Statistics & History) เช่น ยอดขาย หรือ จำนวนลูกค้า เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
หรือเรียกดูข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด
4. ข้อมูลในรูปแบบที่กำหนดเอง (Customized Form Design)
5. URL Link เช่น CCTV, Measurement device


ความสามารถทั่วไปของ EIS
         – การเข้าถึงดาต้าแวร์เฮาต์ (Data Warehouse) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ ประกอบด้วยฐานข้อมูลจากงานในระดับปฏิบัติการ เช่น วัสดุคงคลัง และฐานข้อมูลภายนอก เช่น ลักษณะของประชากร
        – การใช้ความสามารถในการเจาะข้อมูล (Drill down) กล่าวคือ EIS จะประกอบด้วยการสรุปสารสนเทศเพื่อให้ผู้บริหารสามารถเจาลึกเพื่อกาสารสนเทศในรายละเอียดอีกครั้ง ดังนั้นการเจาะข้อมูลหมายถึง ความสามารถในการให้รายละเอียดของสารสนเทศ เช่น หากผู้บริหารสังเกตเห็นการลดลงของยอดขายในรายงานประจำสัปดาห์ผู้บริหารอาจต้องดูรายละเอียดของยอดขายในแต่ละภาคเพื่อต้องการหาเหตุผล ถ้าข้อมูลแสดงว่าภาคใดภาคหนึ่ง มีปัญหา ผู้บริหารอาจจะเจาะลงในรายละเอียดของการขายสินค้าแต่ละผลิตภัณฑ์ หรือยอดขายของพนักงานขายแต่ละคนก็ได้ การเจาะลึกของข้อมูลอาจทำได้ต่อเนื่องกันหลายระดับของข้อมูล การเจาะลึกดังกล่าวผู้บริหารสามารถทำไดเองโดยไม่จำเป็นองปรึกษากับโปรแกรมเมอร์แต่อย่างใด
        – การนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่มีความยืดหยุ่น ระบบ EIS จะมีการรายงานซึ่งมีความยืดหยุ่นกว่าระบบ MRS มาก กล่าวคือ ระบบ MRS จะมีการกำหนดสารสนเทศไว้ล่วงหน้า แต่ EIS จะเริ่มจากสิ่งที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และยังมีรูปแบบรายงานต่างๆ ให้ผู้บริหารได้เลือกอีก (แนวคิดเดียวกับแบบ drill down) ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถ ได้ทราบสารสนเทศในเชิงลึกมากขึ้น และบางครั้งถึงกับออกแบบในลักษณะกราฟฟิคเอาไว้ด้วย ลักษณะการนำเสนอในแบบนี้เป็นข้อแตกต่างของ MRS และ EIS
         – การเข้าถึงสารสนเทศที่หลากหลาย ระบบ EIS ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึง สารสนเทศได้ทุกประเภท ทั้งสารสนเทศจากภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การด้วย
         – การใช้โมเดลในการวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลอาจจำเป็นต้องทราบแนวโน้มในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในข้อมูล การวิเคราะห์แนวโน้มจะทำได้โดยใช้โมเดลการพยากรณ์ การวิเคราะห์แนวโน้ม เช่น ยอดขายจะมีการเพิ่มขึ้นหรือไม่ ส่วนแบ่งการตลาดจะลดลงหรือไม่



หน้าที่ของ EIS
        1. ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ โดยประเมินและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและนำสารสนเทศที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันมีความรวดเร็วและช่วยในการพิจารณาสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งทดสอบว่ากลยุทธ์ที่กำหนด ได้ผลหรือไม่ (Stair & Reynolds, 1999)
       2. ช่วยในการควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic control) ซึ่งเกี่ยวกับการติดตาม และการจัดการการปฏิบัติขององค์การโดยการสร้างกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิผลโดยการระบุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหา โอกาส หรือการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะช่วยให้กระบวนการทำงานลื่นไหลไปได้ด้วยดี (Stair & Reynolds, 1999)
       3. การสร้างเครือข่าย (Networks) เครือข่ายในที่นี้ หมายถึงบุคคลต่างๆ ทำงานร่วมกันในการบรรลุจุดมุ่งหมาย เครือข่ายนี้จะช่วยทำให้สารสนเทศที่เกี่ยวกับความคิดเห็นข้อสังเกต ข้อมูลหรือการเตือนภัยล่วงหน้าไหลติดต่อระหว่างสมาชิกในเครือข่าย
       4. ช่วยในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระบบยังสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศรวมทั้งสามารถในการจัดหาสินค้าของซัพพลายเออร์
       5. ช่วยในการจัดการกับวิกฤต (Crisis management) แม้ว่าหน่วยงานจะมีการวางแผนกลยุทธ์ดีเพียงไร แต่บางครั้งวิกฤตที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้ การจัดการวิกฤตเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโดยตรง (Stair & Reynolds, 1999)


ข้อดีของระบบ EIS

1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น


ข้อด้อยของระบบ EIS

1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล



ตัวอย่างการใช้ระบบ EIS ในธุรกิจต่างๆ
ตัวอย่างที่ 1
       บริษัทที่มีหน่วยงาน/ สาขา/ ผู้แทนหรือลูกค้ากระจายอยู่ทั่วพื้นที่ในประเทศไทย
     - สามารถดูข้อมูลยอดขายในแต่ละพื้นที่(หรือหลายพื้นที่) ในช่วงเวลาต่างๆได้
     - สามารถดูผล performance ของพนักงาน/หน่วยงานซึ่งประจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆในช่วงเวลาต่างๆได้
     - สามารถดูปริมาณสินค้าคงเหลือของแต่ละประเภทสินค้าในแต่ละพื้นที่(หรือหลายพื้นที่)ณ. ช่วงเวลาต่างๆได้
     - สามารถดูปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการของลูกค้าในพื้นที่และในช่วงเวลาต่างๆ
     - สามารถดูปัญหาการขนส่งสินค้าในพื้นที่ต่างๆ ณ ช่วงเวลาที่ต้องการได้
     - สามารถดูการกระจายตัวของลูกค้า เพื่อนำไปใช้ปรับกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้าและพัฒนา
ผลิตภัณฑ์และบริการให้หมาะกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่

หมายเหตุ: การแสดงและเรียกดูข้อมูลสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า


ตัวอย่างที่ 2
     บริษัทอสังหาริมทรัพย์(ขายโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม)
   - สามารถดูการกระจายตัวของโครงการบ้านและคอนโดในจังหวัดหรือบริเวณที่ต้องการ(รวมบริษัทคู่แข่ง)
   - สามารถเลือกดูข้อมูลตามประเภทโครงการ/ ราคา/ บริษัทเจ้าของโครงการในช่วงเวลาต่างๆได้
   - สามารถแสดงข้อมูลโครงการที่ลูกค้าสนใจได้ง่าย โดยอาจคลิกเลือกจากแผนที่ หรือ การค้นหาโดยใส่ข้อมูลตำแหน่ง, ราคา หรือประเภทโครงการ
   - สามารถดูข้อมูลการกระจายตัวของประชากรในแต่ละพื้นที่ ทำให้การวางแผนสร้างโครงการต่างๆเป็ นไปได้อย่างเหมาะสม
   - สามารถดูข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมในแต่ละปี ได้ ซึ่งจะช่วยตัดสินใจในการเลือกพื้นที่เพื่อก่อสร้างโครงการต่างๆ

หมายเหตุ: การแสดงและเรียกดูข้อมูลสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า

ตัวอย่างที่3
     บริษัทประกันภัย/ ประกันชีวิต
- สามารถดูการกระจายตัวของลูกค้าที่ทำประกันภัยประเภทต่างๆ เพื่อใช้ในการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ
- สามารถดูขอบเขตพื้นที่ซึ่งเป็นบริเวณเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด, ภัยแล้ง, น้ำท่วม หรือ ความไม่สงบเพื่อพิจารณาการอนุมัติค้ำขอทำประกันและอัตราเบี้ยประกันภัย/ ประกันชีวิต
- สามารถดูข้อมูลยอดขายของลูกค้าในบริเวณต่างๆ ณ ช่วงเวลาที่กำหนด

หมายเหตุ: การแสดงและเรียกดูข้อมูลสามารถปรับเปล่ียนได้ตามความต้องการของลูกค้า





ที่มา :https://acc5606103108.wordpress.com/2013/07/13
        http://pimchanokkongdee.blogspot.com/2015/11/eis-7.html